วันอังคารที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2553

Google Analytics คืออะไร...

Google Analytics คืออะไร...
หลายคนคงรู้จักกันแล้ว....ว่า Google Analytics ก็คือ ตัวเก็บสถิติเกี่ยวกับผู้เข้าชมเว็บไซต์ พฤติกรรมของคนที่เข้าเยี่ยมชมเว็บไซด์ รวมทั้งติดตามประสิทธิภาพของแคมเปญการโฆษณา Adwords หรือโปรแกรมการโฆษณาอื่นๆ ด้วยข้อมูลนี้ จะทราบว่าคีย์เวิร์ดใดที่ได้ผล ข้อความโฆษณาใดมีประสิทธิภาพมากที่สุด และผู้เข้าชมเว็บไซต์ออกจากเว็บไซต์ที่จุดใด

ความสามารถหลัก ของ Google Analytics
Google analytics แบ่งความสามารถตามจุดประสงค์การใช้งานได้ดังต่อไปนี้คือ

- สถิติเกี่ยวกับ Visitor รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับผู้ที่เข้ามาชมเว็บไซต์
- สถิติเกี่ยวกับ Traffic รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับช่องทางในการเข้าถึงเว็บไซต์
- สถิติเกี่ยวกับ Content รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับสถิติการเข้าชมเนื้อหาภายในหน้าเว็บไซต์
- สถิติเกี่ยวกับ Goal วิเคราะห์ว่าผู้ใช้งานเข้าถึงเป้าหมายภายในเว็บไซต์ได้อย่างไร

ง่ายๆก็คือ ....
...... ช่วยให้เรารู้ว่าผู้เข้ามาเยี่ยมชมเว็บไซต์มาจากที่ไหน
...... เข้ามาดูที่หน้าใดบ้างในเว็บ
...... ใช้เวลาในการเข้าชมนานเท่าไหร่ แล้วไปไหนต่อ
...... หน้าเว็บใดที่ผู้เข้าชมหยุดดูเป็นเวลานาน และทำอะไรอยู่ในขณะที่หยุดดูอยู่
...... อะไรบนเว็บที่ขายดี แล้วขายไปมูลค่าเท่าไหร่ และกลับมาซื้อซ้ำหรือเปล่า บ่อยแค่ไหน


คุณสมบัติพิเศษ

ฟรี
เดิมที แล้วเป็นบริการของ Urchin และในการให้บริการนั้นก็เก็บค่าบริการต่อเดือน เดือนละ 200 เหรียญ ประมาณ เจ็ดพันกว่าบาทไทย (อัตราแลกเปลี่ยนปี 51) ซึ่ง Google เห็นแววเกิด ก็เลยขอซื้อและเปิดให้บริการฟรีให้สะเทือนวงการ

สถิติของจุดซ่อนเร้น
การ จะสร้างเว็บไซต์ขึ้นมาสักแห่ง ทำออกมาได้ดีแค่ไหน ถ้าไม่มีคนเข้า มันก็ขยะดีๆนี่เอง เมื่อไม่มีคนเข้า รายได้ก็จะไม่มี เมื่อไม่มีรายได้คนทำก็จะหมดกำลังใจ และเมื่อขาดกำลังใจ ก็จะไม่มีแรงทำ เมื่อไม่มีแรงทำ มันก็จะขาดทุน และถ้าขาดทุนมากๆ มันก็จะเจ๊งไปในที่สุด ไม่ต้องคิดมาก Google Analytics ช่วยคุณได้ ด้วยสถิติที่ละเอิยดยิ๊บ
- Tip : มองในมุนกลับกันว่า ที่มาของทราฟฟิค ก็คือสถิติของทราฟฟิคที่เข้ามานั่นเอง ขยิบตา

ใช้งานง่ายสุดๆ
Google Analytics ใช้งานได้ง่ายมากสำหรับนักการตลาดมือใหม่ webmaster มือใหม่ เปรียบได้เหมือนเด็กหัดนั่งรถไฟฟ้า ง่ายจริงๆ

ขีดความสามารถที่สอดคล้องกับเว็บไซต์ทุกขนาด
Google Analytics เป็นบริการผ่านโฮสต์ที่ใช้เซิร์ฟเวอร์เดียวกับ Google Search ตั้งแต่เว็บไซต์ขนาดใหญ่ที่มีผู้เข้าชมจำนวนมากไปจนถึงเว็บไซต์ขนาดเล็ก Google Analytics ให้บริการได้อย่างเท่าเทียมกัน

ทำงานร่วมกับ AdWords
หาก มี Acc ของ AdWords สามารถใช้ Google Analytics ได้โดยตรงจากส่วนติดต่อของ AdWords คำนวณการวัดผลตอบแทนจากการลงทุนจากคีย์เวิร์ดที่นำเข้าไปโดยอัตโนมัติ ซึ่งจะช่วยประหยัดเวลาของได้มากทีเดียว



ติดตามแคมเปญทั้งหมด
Google Analytics ติดตามแคมเปญออนไลน์ทั้งหมด ตั้งแต่เอ็ดกรู๊ปไปจนถึงคีย์เวิร์ด ไม่ว่าจะทราฟฟิคจาก google search หรือ จาก เคนเท้นเน็ตเวิร์ค

Google Analytics มีคุณลักษณะที่น่าสนใจและ คุณประโยชน์ มากมายสำหรับทุกคน ตั้งแต่ผู้บริหารระดับสูงและนักการตลาดและนักโฆษณาไปจนถึงเจ้าของเว็บไซต์ และนักเขียน


การปรับใช้อย่างรวดเร็ว
แปะโค๊ดของ Google Analytics จึ่งเดียวในหน้าเว็บไซต์แต่ละหน้า สามารถเริ่มทำงานเก็บสถิติได้ทันที (แต่ไม่เรียวทาม)



การเปรียบเทียบคีย์เวิร์ดและแคมเปญ
ติดตามและเปรียบเทียบโฆษณา จดหมายข่าวอีเมล แคมเปญโฆษณา การแนะนำสินค้า และคีย์เวิร์ดทั้งหมดใน Google และเครื่องมือค้นหาอื่นๆ



รายงานที่กำหนดเอง
ไม่ต้องค้นหาข้อมูลในรายงานอีกต่อไป แต่รวบรวมข้อมูลที่ต้องการไว้ตามที่เรากำหนดเอง และยังสามารถส่งอีเมลไปให้บุคคลที่เกี่ยวข้องได้



การผสานรวมกับ AdWords
บิทคีย์เวิร์ดใน Google AdWords และใช้ Google Analytics เืพื่อดูว่าคีย์เวิร์ดคำใหนจะทำให้ได้ผลกำไรมากที่สุด



เทรน
เปรียบเทียบช่วงเวลา แนวโน้มของเทรนต่างๆให้



การติดตามการซื้อ-ขาย
ติดตามธุรกรรมของแคมเปญและคีย์เวิร์ด และระบุแหล่งที่มาของรายได้



ช่องทางการเข้าถึงข้อมูล
หาข้อมูลให้รู้ว่าเกิดความล้มเหลวในหน้าเว็บใด และลูกค้าของเราควรไปยังหน้าใด



การแสดงข้อมูลบนเว็บ
ดูปริมาณการเข้าชม และการเปลี่ยนแปลงสำหรับทุกลิงค์ขณะที่เปิดใช้เว็บไซต์ (ไม่ต้องมีการดาวน์โหลด)



การส่งรายงานทางอีเมล
กำหนดเวลา สำหรับส่งรายงานทางอีเมล์ สำหรับข้อมูลที่ที่ต้องการเปิดเผยแบบเฉพาะเจาะจงเป็นรายบุคคลได้



GeoTargeting
หาคำตอบให้รู้ว่าผู้เข้าชมของมาจากไหน และหาตลาดทางภูมิศาสตร์ที่ให้ผลตอบแทนที่ดีที่สุด

ผมขอกล่าวถึง 5 จุดสุดยอด Google Analytics Reports เนื้อๆ เน้นๆ ที่มีประโยชน์มั๊กๆ ดังนี้ครับ
โค๊ด:
http://www.dailyblogtips.com/top-5-google-analytics-reports-for-bloggers/

1. Referring Sites (ภายใต้เมนู Traffic Sources)
ง่ายๆ ก็คือบอกให้เรารู้ว่าเว็บของเราได้ถูกเข้าชมจากเว็บที่เราเอาไปลิงค์ไปฝาก ไว้ที่ไหนมั่ง เช่นตามเว็บที่เราไปซับมิทเว็บไว้ในเว็บไดเรคทอรี่ต่างๆ ตามรูปประกอบคือเข้ามาจากเว็บ problogger.net 44 คน



2. Keywords (ภายใต้เมนู Traffic Sources)
ผลรายงานนี้บอกให้รู้ว่า มีคนเข้ามาในเว็บเราจากคีย์เวิร์ดคำไหน ยกตัวอย่างเช่น จากรูป มีคนเข้ามาเว็บเราทั้งหมดจาก 2,243 คีย์เวิร์ด มีเข้ามาด้วยคีย์เวิร์ดคำว่า car parking games จำนวน 964 คน เราก็ไปเช็คใน google ซะว่าเราอันดับเท่าไหร่ของคีย์เวิร์ดคำนี้



3. Content by Title (ภายใต้เมนู Content)
อันนี้ต่อเนื่องจากข้อ 2 ครับ คือบอกให้รู้ว่า Title ไหนมีคนเข้ามาดูมากที่สุด จากรูป มีคนเข้ามาจาก Title ของเว็บที่มีชื่อว่า Car Parking Games - Project Paradox จำนวน 3,922 Pageviews



4. New vs. Returning (ภายใต้เมนู Visitors)
รายงาน ส่วนนี้ จะแสดงให้เห็นว่า มีคนหน้าใหม่ เข้ามา 9,296 คน (89.78%) คนเก่าๆ 1,053 (10.22%) แสดงให้เห็นว่า มีคนเข้าเว็บเราเพิ่มขึ้นมากเลยแฮะ ทั้งหมดก็ 10,354 คน เข้ามาตั้งหมื่นกว่าคน คลิกคนละจึกสองจึก ก็จะเป็นเงินมิน้อย



5. Map Overlay (ภายใต้เมนู Visitors)
รายงาน สุดท้ายแต่ไม่ท้ายสุด อันนี้จะบอกให้รู้ว่าคนเข้ามาดูจากทวีปไหนมั่ง ตรงกลุ่มเป้าหมายหรือเปล่า สมมุติ อเมริกา กับอังกฤษเรายึดไปแล้ว ทวีปไหนประเทศไหนทราฟฟิคยังน้อยอยู่ เราก็ไปเช็คโอกาส และคู่แข่งภายในประเทศนั้น วางแผนการอันชั่วร้ายและปฏิบัติการตามแผนอย่างเงียบๆและเราก็จะครองทั้งโลก ด้วยคีย์เวิร์ดคำนี้ ยิงฟันยิ้ม

1 ความคิดเห็น: